Available courses

คำอธิบายรายวิชา

     ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การแก้ปัญหาการทำงาน การวิเคราะห์ปัญหา การกำหนดขั้นตอนการทำงาน (Algorithm) ด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ การเขียนผังงาน (Flowchart)การเขียนรหัสเทียม (Pseudocode) หลักการออกแบบโปรแกรม และปฏิบัติการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร

จุดประสงค์รายวิชา เพื่อให้

 1. เข้าใจเกี่ยวกับการใช้งานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล

 2. มีทักษะการใช้โปรแกรมทำงานร่วมกันแบบออนไลน์บนระบบคลาวด์ 

 3. มีคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบ และตระหนักถึงการเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัล

 4. มีความสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสนับสนุนในอาชีพ

 

สมรรถนะรายวิชา

1. ประมวลความรู้เกี่ยวกับการใช้งานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัลตามหลักการ

2. ใช้โปรแกรมทำงานร่วมกันแบบออนไลน์บนระบบคลาวด์ 

3. วิเคราะห์กรณีศึกษาเทคโนโลยีดิจิทัลเชื่อมโยงอาชีพ

4. ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลตามสถานการณ์ในอาชีพ

 

คำอธิบายรายวิชา

    ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้งาน คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีดิจิทัล อินเทอร์เน็ต โปรแกรมประมวลผลคำ โปรแกรมตารางคำนวณ โปรแกรมนำเสนอ โปรแกรมทำงานร่วมกันแบบออนไลน์บนระบบ คลาวด์ โปรแกรมสร้างสื่อดิจิทัล เทคโนโลยีเก็บข้อมูล (Block Chain) โปรแกรม ระบบอัตโนมัติ สำหรับ การวิเคราะห์ข้อมูล การทำธุรกรรมการเงินดิจิทัล สกุลเงินดิจิทัล หรือคริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่องานอาชีพ การใช้งานดิจิทัลเพื่อความมั่นคงปลอดภัย และ การเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัล

ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาในเชิงกลยุทธ์ การตอบสนองต่อคำถามที่ต้องการความเห็นด้วยภาษาอังกฤษ แนวคิดในเชิงนามธรรม แสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนรู้ การเตรียมการนำเสนอด้วยภาษาอังกฤษ การนำเสนอภาษาอังกฤษ และการประเมินผลการนำเสนอด้วยภาษาอังกฤษในงานแม่บ้านโรงแรม   

การศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับองค์ประกอบของวงจรไฟฟ้า

  • วงจรแบบตัวต้านทาน

  • แหล่งกำเนิดแบบอิสระและไม่อิสระ

  • การวิเคราะห์วงจรด้วยกฎแรงดันและกระแสของเคอร์ชอฟฟ์

  • ทฤษฎีการวางซ้อน

  • ทฤษฎีการแปลงแหล่งกำเนิด

  • ทฤษฎีของเทวินินและนอร์ตัน

  • วงจรออปแอมป์

  • องค์ประกอบเชิงเส้นและไม่เชิงเส้น: ตัวเก็บประจุ (คาปาซิเตอร์) และ ตัวเหนี่ยวนำ (อินดักเตอร์)

การตอบสนองของวงจร

  • วงจรลำดับที่หนึ่ง (First-Order Circuits)

  • วงจรลำดับที่สอง (Second-Order Circuits)

  • ผลตอบสนองในสภาวะทรานเซียนต์ต่อแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง

วงจรแม่เหล็กไฟฟ้า

  • ความเหนี่ยวนำรวม (Mutual Inductance)

  • วงจรไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Circuits)

  • การวิเคราะห์รูปคลื่นไซน์และแผนผังเฟสเซอร์

  • อิมพีแดนซ์ (Impedance) และแอดมิตแตนซ์ (Admittance)

  • วงจรเรโซแนนซ์ (Resonance)

กำลังไฟฟ้าและการประยุกต์

  • กำลังไฟฟ้าในวงจรกระแสสลับ

  • การปรับปรุงตัวประกอบกำลังไฟฟ้า (Power Factor Correction)

  • วงจรไฟฟ้าเฟสเดียว (Single-Phase) และหลายเฟส (Polyphase Systems)

ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับหน่วยวัดและเครื่องมือวัดไฟฟ้าแบบมาตรฐาน การป้องกันผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดผลต่อการวัดและเครื่องมือวัด ข้อกำหนดด้านความปลอดภัย ความเที่ยงตรงของการวัด การวัดแรงดัน กระแส และกำลังไฟฟ้า เครื่องมือวัดไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ และการนำไปใช้งาน การวัดค่าอิมพีแดนซ์ ความถี่ต่ำและความถี่สูง การวัดแม่เหล็ก ทรานสดิวเซอร์ การวัดโดยใช้เทคนิคทางดิจิทัล การวัดโดยใช้วิชันเซนเซอร์ เครื่องมือวัดไฟฟ้าแบบดิจิทัลชนิดต่าง ๆ และการใช้งาน สัญญาณรบกวน เทคนิคในการลดผลของสัญญาณรบกวน เครื่องมือวัดสัญญาณทางไฟฟ้า เทคนิค วิธีการใช้เครื่องมือวัดสัญญาณไฟฟ้า

ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำเอกสารที่ได้จากการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่าสารจากการฟังการดู และการอ่านสารในงานอาชีพจากสื่อประเภทต่าง ๆ พูดนำเสนอ และจัดทำเอกสาร เขียนข้อมูลในงานอาชีพ จดบันทึกข้อมูล เขียนรายงานการปฏิบัติงาน ประยุกต์ใช้หลักกการทางภาษาไทย เพื่อการสื่อสารในงานอาชีพตามสถานการณ์ และมีจรรยาบรรณในการใช้ภาษาไทยเพื่อสื่อสารในงานอาชีพ